ก็ต้องกล่าวคำว่า สวัสดีปีใหม่นะคร้าบ ช่วงเวลานี้ใครหลายๆคนน่าจะกำลังเดินทางท่องเที่ยวกันอยู่ตามสถานที่ต่างๆ
และก็ต้องมีหลายคนที่อยากจะเก็บความทรงจำอันแสนวิเศษเหล่านี้โดยบันทึกไว้เป็นวิดีโอ ในวันนี้ผมจึงถือโอกาสมาแบ่งปัน
ถึง 10 เทคนิคถ่ายวิดีโอด้วยสมาร์ทโฟน เพื่อเอาไว้ให้พวกเราลองนำไปประยุกต์ใช้กันนะครับ จะเป็นยังไงไปเริ่มกันเลย
1. เลนส์กล้องต้องสะอาด
อย่างแรกเลย เราต้องมาดูส่วนสำคัญส่วนแรกที่ใช้ในการรับภาพก่อนเลยนั่นก็คือ เลนส์กล้องมือถือ
เราต้องหมั่นสังเกตดูให้มันสะอาดพร้อมใช้งานตลอด เพราะหากมันสกปรกแน่นอนว่าภาพที่ออกมามัน
ก็จะมีปัญหาขึ้นได้ ไม่ชัดมั่ง หมอกลงมั่ง หลายคนอาจทราบอยู่แล้ว แต่ก็มีหลายคนที่มองข้ามเรื่องนี้ไปครับ
ฉะนั้นแม้กล้องมือถือจะระดับเทพแค่ไหนแต่หากลืมเรื่องนี้ไป กล้องเทพๆก็คงไม่สามารถเทพได้นะครับ
2. ทัศนวิสัยต้องชัดเจนดี
ทัศนวิสัยที่ผมหมายถึงก็คือเวลาเราถ่ายวิดีโออย่าให้อะไรมาบังกล้องมือถือเรานั่นเองครับ ไม่ต้องระวังอะไรอื่นไกลเลย
มือหรือนิ้วของเรานั่นแหละครับ ตอนขณะถือถ่ายอยู่เราอาจจะเผลอไปบังโดยไม่รู้ตัวได้ เพราะงั้นระมัดระวังนะครับ
นอกจากระวังบังกล้องแล้ว อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องของเสียง เราจะต้องรู้ตำแหน่งของจุดรับเสียงของมือถือเรา
เมื่อรู้แล้วก็ให้ระวังอย่าได้ไปบังส่วนนั้นเช่นกันครับ เพื่อที่ว่าเราจะได้มีทั้งภาพและเสียงที่มีคุณภาพสูงสุดๆไปเลย
3. สองมือย่อมดีกว่ามือเดียว
ธรรมชาติสร้างมนุษย์ออกมาให้เรามีสองมือ ฉะนั้นเวลาเราใช้มือทำอะไรจะให้มั่นคงที่สุดก็ต้องใช้สองมือครับ
ฉันใดก็ฉันนั้น การถ่ายวิดีโอด้วยมือถือก็เช่นกัน การใช้สองมือถ่ายย่อมดีกว่าการใช้มือเดียวเป็นไหนๆ ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องภาพที่จะมีความนิ่งกว่า หรือจะในเรื่องของความถนัดในการถือ ดังนั้นอย่าลืมใช้สองมือถือให้มั่นและถ่ายไปโลดดด
4. ถ่ายในแนวนอน
ทำไมต้องแนวนอน? หลายคนอาจสงสัย ถ้าเราสังเกตดีๆอุปกรณ์ต่างๆที่เป็นจอแสดงผล หรือไม่ว่าจะโปรแกรมเล่นวิดีโอ
เว็บไซต์ดูวิดีโอต่างๆ จะมีรูปแบบการแสดงผลเป็นแนวนอนทั้งนั้นเลย เพราะงั้นหากเราถ่ายในแนวตั้งซึ่งผมเข้าใจบางคน
อาจจะคิดว่าก็แนวตั้งมันถือถนัดกว่านี่นา แต่ผลออกมามันจะดูไม่ถนัดตานี่สิ เพราะคิดดูคลิปออกมาเป็นแนวตั้งพอเรา
ไปเปิดดูจะให้ความรู้สึกอึดอัดมากๆเลย เพราะภาพที่ได้ออกมามันช่างแคบซะเหลือเกิน ยังไงก็แนะนำให้ถ่ายแนวนอนนะครับ
หากเราถ่ายวิดีโอเป็นแนวตั้ง ภาพที่ออกมาก็จะดูน่าอึดอัดแบบนี้นี่เอง
5. ความสว่างต้องพอเหมาะ
ขณะถ่ายวิดีโอนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือความสว่างของภาพในขณะเราถ่าย หากเราไปถ่ายในจังหวะที่มี
ความสว่างมากและมืดมากในฉากเดียวกันหรือที่เขาเรียกกันว่ามี Contrast ของแสงมากเกินไป ภาพที่ถ่ายออกมา
ก็จะมีความมืดหรือความสว่างจนเกินไป นั่นก็เพราะกล้องมือถือของเราจะปรับแสงของภาพให้สมดุลไม่ทัน
ฉะนั้นให้หลีกเลี่ยงการถ่ายในเคสลักษณะนี้นะครับ ให้เลือกใช้แสงให้มีความสมดุลจะดีที่สุดเลย
6. ถ่ายด้วยโหมด HDR
จากข้อที่แล้ว หากเราจำเป็นที่จะต้องถ่ายวิดีโอในจังหวะเคสที่มี Contrast ของแสงมากเกินไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ให้เราเปิดโหมด HDR (High Dynamic Range) ในการถ่ายเลยครับ โหมดนี้ถ้าจะให้พูดง่ายๆก็คือเป็นการนำภาพ
หลายๆภาพที่มีค่า Contrast ที่ต่างกันแล้วเอาภาพทั้งหมดมารวมกันและคัดเหลือเป็นภาพเดียวที่ดีที่สุด
ทำให้ภาพที่ได้ออกมามีรายละเอียดที่สมบูรณ์ลงตัวที่สุด มันจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการถ่ายวิดีโอ
ในจังหวะที่มีความแตกต่างของแสงมากนั่นเองนะครับ
7. แบตเตอรี่ต้องพร้อม
ข้อนี้ไม่มีอะไรมากครับจริงๆทุกคนก็น่าจะเตรียมพร้อมกันอยู่แล้ว เอาเป็นว่าผมมาย้ำอีกทีละกัน แน่นอนว่ามือถือเรา
ทุกๆเครื่องต้องใช้แบตฯเป็นพลังงานกันอยู่แล้ว การถ่ายวิดีโอเป็นงานที่ต้องใช้พลังงานเยอะเนื่องจากว่ามันใช้ระยะเวลานาน
ยิ่งบางคนอาจต้องการถ่ายวิดีโอแบบความละเอียดสู๊งสูงก็ยิ่งต้องใช้แบตฯเยอะครับ เพราะงั้นจะต้องชาร์จแบตฯให้เต็มอยู่เสมอ
พร้อมทั้งพกแบตฯสำรองเผื่อไว้ด้วยเลย หากถ่ายๆอยู่แบตฯดันมาหมดผิดจังหวะ หัวคุณก็อาจจะร้อนโดยไม่รู้ตัว 555
8. คำนวณพื้นที่เมมให้ดี
ต่อเนื่องจากข้อที่แล้วเลยแบตฯพร้อมแล้วเมมเราก็ต้องพร้อมด้วย การถ่ายวิดีโอต้องใช้พื้นที่เมมพอสมควรเลย
แต่ว่าแต่ละคนก็มีการใช้งานที่ต่างกันไปอยู่ดี คนที่ใช้ถ่ายงานหนักอย่างถ่ายแบบความละเอียดสูงก็ต้องการพื้นที่เมม
มากกว่าคนที่ถ่ายแบบความละเอียดปกติ ฉะนั้นใครต้องใช้งานแบบไหนก็ให้คำนวณและใส่เมมให้เหมาะกับงานกันนะครับ
9. หลีกเลี่ยงการซูม
ขณะที่เรากำลังถ่ายโดยรวมของฉากๆนั้นอยู่แน่นอนว่าก็ต้องมีจังหวะที่เราอยากให้คนดูเห็นในรายละเอียดที่ลึกลงไปมากขึ้น
บางคนก็อาจจะใช้การซูมเข้าไปเลย ซึ่งผมอยากจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงครับ เพราะว่าการซูมขณะที่ถ่ายวิดีโออยู่มันจะทำให้
ภาพวิดีโอที่เราถ่ายอยู่สั่นขึ้นได้ นอกจากภาพสั่นแล้วความคมชัดของภาพก็จะลดลงอีก ถ้าอยากถ่ายใกล้จริงๆ แนะนำให้ใช้วิธี
การเดินเข้าไปจะดีกว่าครับ ถ้าวิธีนี้จะให้ภาพที่คมชัดกว่ามากเลย แต่อาจต้องมีการฝึกทักษะการเดินถ่ายบ้างเล็กน้อย
10. เคลื่อนไหวอย่างมีชั้นเชิง
ภาพวิดีโอที่เราต้องการเมื่อถ่ายออกมาเสร็จ แน่นอนว่าต้องเป็นภาพวิดีโอที่มีความนิ่ง นุ่มนวล มีการสั่นไหวน้อยที่สุด
เพื่อการนี้จึงจำเป็นอย่างมากเลยที่การเคลื่อนไหวของเราในขณะถ่ายจะต้องมีความนิ่งให้มากที่สุด และรวมไปถึง
การขยับกล้องในการถ่ายลักษณะต่างๆก็ต้องให้นิ่งที่สุดด้วยเช่นกัน ก็ต้องอาศัยการฝึกซ้อมและสะสมประสบการณ์
ไว้อยู่เรื่อยๆนะครับ แต่ถ้าอยากจะให้ไร้กังวลเลยก็ต้องใช้พวกอุปกรณ์กันสั่นอย่าง Snoppa M1 ก็จะง่ายสบายๆเลยครับ
ก็จบกันไปแล้วนะครับกับ 10 เทคนิคถ่ายวิดีโอด้วยสมาร์ทโฟน หวังว่านี่คงเป็นประโยชน์กับพวกเราไม่มากก็น้อย
และจะยินดีอย่างมากเลยถ้าหากว่านำบทความนี้ไปแชร์ให้เพื่อนๆของคุณได้รับรู้กัน ขอขอบคุณทุกคนที่ติดตามกัน
ครั้งหน้าจะเป็นบทความเรื่องราวอะไรดีๆต่อไป คอยติดตามกันได้เลย สำหรับวันนี้สวัสดีและขอบคุณคร้าบ