Matador Materials Deep Dive

     กราบสวัสดีเหล่านักเดินทางผู้รักการผจญภัยทุกท่านนะครับ ในบทความนี้ผมจะพาทุกคนไปดูเรื่องเล็กๆแต่สำคัญมากอย่าง “วัสดุ” แน่นอนว่าเราจะไปเน้นเจาะลึกกันที่วัสดุอุปกรณ์เดินทางกัน โดยเนื้อหาในบทความนี้ผมได้เรียบเรียงมาจากบทความ Materials Deep Dive โดยคุณ Kristin Shearer ซึ่งได้ทำออกมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับหลายๆคนที่เวลาต้องเลือกซื้ออุปกรณ์เดินทาง อุปกรณ์ Outdoor อุปกรณ์แคมปปิ้งต่างๆ แล้วจะต้องเจอกับคำศัพท์ (ภาษาอังกฤษ) ชวนปวดหัวบางคำก็มีความใกล้เคียงกันมากทำให้เกิดความสับสนเวลาที่ต้องเปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากแต่ละแบรนด์ ซึ่งจะมีคำไหนบ้าง? เดี๋ยวเราไปเริ่มดูกันเลย

Denier คือการวัดน้ำหนักของเส้นใยที่อยู่ในเนื้อผ้า ยิ่งค่าสูงยิ่งมีน้ำหนักเนื้อผ้าจะแข็งแรง ยิ่งค่าน้อยยิ่งเบาเนื้อผ้าจะบอบบาง ช่วงยุค 90 มักจะทำกระเป๋าค่อนข้างหนักจะใช้ค่าอยู่ที่ 1000D โดยที่ค่า 400D-600D เป็นค่ามาตราฐานของน้ำหนักกระเป๋าเป้ทั่วไป ส่วนกระเป๋าเป้ประเภท Ultralight มักใช้ค่าอยู่ที่ 100D-210D ส่วนค่าตั้งแต่ 70D และต่ำลงไปมักจะเป็นเนื้อผ้าของกระเป๋า เต็นท์ หรือเสื้อแจ็คเก็ตบางๆ

Fabric weight คือหน่วยที่ในบางครั้งจะใช้แทนตัว Demier เพื่อบอกบนแผ่นข้อมูล Fabric weight มักจะอยู่ในหน่วยของ oz/yd2 ยกตัวอย่างเช่น 1000D nylon มักจะอยู่ราวๆ 11oz/yd2, 400D-600D มักจะอยู่ประมาณ 6-8oz/yd2, 70D จะอยู่ประมาณ 1.9oz/yd2 และ 30D จะอยู่ที่ 1.1oz/yd2.

Thread เกิดขึ้นจากเส้นใยหลายๆเส้นมามัดรวมเป็นเกลียวไว้ด้วยกันหรือก็คือเส้นด้ายนั่นเอง ไว้สำหรับใช้ในการสร้างตะเข็บส่วนใหญ๋ของกระเป๋าเป้ เต็นท์ ถุงนอน ฯลฯ ด้ายในกระเป๋าเป้เป็นเหมือนกับตัวเชื่อมในรถหรือเหมือนตะปูในโครงสร้างของบ้าน ซึ่งมีความสำคัญมาก น่าเสียดายที่คุณภาพของด้ายไม่ได้เป็นที่สนใจของลูกค้าส่วนใหญ่ และด้ายเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนได้รวดเร็ว ด้ายส่วนใหญ่ที่ใช้ในอุปกรณ์ Outdoor คือ Polyester หรือ Nylon ด้ายมักใช้ในกระเป๋าเป้น้ำหนักปานกลางหรือกระเป๋าน้ำหนักมากๆ และจะมีการเคลือบเรซิ่นเพื่อเพิ่มความต้านทานแรงดึง

Cordura คือผู้ผลิตเนื้อผ้าชั้นนำในอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมมากพวกเขาได้ทำเนื้อผ้าต่างๆออกมาหลายชนิด แต่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดไปใช้คำว่า Cordura ในการพูดถึง 1000D nylon หรือ 1000D nylon เป็นของแบรนด์ Cordura โดยก็จะมีแบรนด์อื่นๆเช่นกันที่มีการเข้าใจผิดระหว่างชื่อแบรนด์กับตัวสินค้าอย่างเช่น Band-Aid และ Kleenex

Fabric construction and weave คือการผลิตและการทอผ้าขึ้นมาเนื้อผ้าอุปกรณ์เดินทางส่วนใหญ่ทำมาจากเส้นใยสังเคราะห์ (พลาสติก) ที่ทอไว้ด้วยกัน โดยทั่วไปพลาสติกจะถูกอัดเป็นเส้นใยที่มีความบางมากๆ จากนั้นนำเส้นใยมาปั่นเป็นเส้นด้ายและนำมาทอไว้ด้วยกันเพื่อทำออกมาเป็นผ้าซึ่งจะผ่านกระบวนการตกแต่งต่างๆด้วย ในการทอเส้นด้านทั่วไปจะเป็น 2 ทิศทาง (ทำมุมกัน 90 องศา) และเชื่อมต่อกันในรูปแบบสูงหรือต่ำ

ส่วนการทอแบบ Ripstop เป็นปกติของอุปกรณ์เดินทางทั่วๆไป ซึ่งเนื้อผ้า Ripstop จะเป็นเส้นใยที่หนักและแข็งแรงกว่าเพราะจะมีการทอสลับไปมา จุดประสงค์คือเพื่อสร้างเนื้อผ้าโดยรอบให้มีลักษณะเป็นตารางที่แข็งแรงกว่าและลดการฉีกขาด เป็นวิธีสร้างเนื้อผ้าที่มีน้ำหนักเบาแต่ยังคงมีคุณสมบัติทนต่อแรงฉีกขาด โดยอย่างใน Matador มีการเริ่มใช้รูปแบบการทอผ้าที่เรียกว่า Dynatec/Dynagin เป็นการทอผ้าแบบใหม่ที่ทำให้ได้คุณสมบัติ Ripstop ที่ดีมาก เนื่องจากเป็นวิธีการที่เส้นด้ายโค้งงอและกลับไปกลับมาเป็นสองเท่า

Uncoated fabric คือเนื้อผ้าที่ไม่มีการเคลือบกันน้ำ จะมีคุณสมบัติที่สามารถระบายอากาศได้ดีแต่จะไม่กันน้ำมักใช้ทำพวก เสื้อขนเป็ด Tent Sidewall วัสดุถุงนอน ฯลฯ

Coated fabric คือเนื้อผ้าที่มีการเคลือบน้ำ จะมีคุณสมบัติที่สามารถกันน้ำได้แต่ระบายอากาศไม่ได้โดยวิธีการเคลือบเนื้อผ้าให้มีคุณสมบัติการกันน้ำได้มี 3 วิธีที่นิยมกันมาก โดยการกันน้ำในที่นี้จะหมายถึงความสามารถในการกันน้ำที่สูงมากแต่จะไม่ถึงระดับกันได้ 100%

  1. PU or polyurethane คือการเคลือบที่ด้านหลังของเนื้อผ้าตอนผลิตจากโรงานเป็นวิธีการเคลือบกันน้ำที่นิยมมากที่สุด การเคลือบ PU มักเหนียวและให้ความรู้สึกเหมือนยาง การเคลือบกันน้ำลักษณะนี้จะสามารถเสื่อมสภาพได้ในที่สุดโดยจะเริ่มแตกออกจากกันโดยการสัมผัสกับความชื้นหรือความร้อน ซึ่งการเคลือบ PU ส่วนใหญ่จะไปทำให้เนื้อผ้าอ่อนแอลง ในแบรนด์ Matador ได้ออกสินค้ามาใหม่ซึ่งใช้การเคลือบอีกแบบที่เรียกว่า UTS (Ultra Tear Strength) เป็นการเคลือบแบบใหม่ที่สามารถกันน้ำได้แบบการเคลือบ PU แบบดั้งเดิม แต่จะช่วยเพิ่มความทนทานต่อการฉีกขาดให้กับเนื้อผ้าขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตามความหมายของชื่อเลย
  2. Silicone คืออีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ผ้าสามารถกันน้ำได้ เรียกกันว่า “Silnylon” บางครั้งจะรู้จักในชื่อ “Misting” ซึ่งเวลาสัมผัสจะให้ความรู้สึกเนียนๆใกล้เคียงเหมือนน้ำมัน การเคลือบซิลิโคนโดยปกติจะใช้กับเนื้อผ้าที่มีน้ำหนักเบาและเพิ่มความทนทานต่อการฉีกขาดด้วย เนื้อผ้าบางชนิดอาจใช้การเคลือบทั้ง PU และ Silicone โดยวิธีแยกความแตกต่างให้คุณลองใช้นิ้วหยิบเนื้อผ้ามาถูกัน การเคลือบด้วย PU จะเหนียวมากเนื้อผ้าจะไม่เลื่อนเลยตอนคุณขยับนิ้วแต่จะติดกันแทน แต่การเคลือบด้วย Silicone จะรู้สึกลื่นมากและแทบไม่มีแรงเสียดทานเลย
  3. Waterproof breathable (WP/B) คือเนื้อผ้าอีกรูปแบบหนึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำได้ ซึ่ง Gore-Tex เป็นแบรนด์ที่ขึ้นชื่อเรื่องผ้า WP/B โดยจะไม่เหมือนกับการเคลือบด้วย PU หรือการเคลือบด้วย Silicone เพราะโดยปกติเนื้อผ้า WP/B จะทำมาจากผ้าที่เคลือบด้วย Membrane ซึ่ง Membrane พื้นฐานเป็นชั้นพลาสติกที่มีรูขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับให้ไอน้ำผ่านได้แต่น้ำที่เป็นของเหลวจะไหลผ่านไม่ได้ เนื้อผ้าชนิดนี้มักใช้ใน Hardshell Jackets ช่วยในการระบายความชื้นจากเหงื่อแต่ก็ช่วยกันฝนได้ด้วย

DWR คือสารที่มีความทนทานน้ำจะถูกนำไปเคลือบไว้ที่ด้านนอกของเนื้อผ้า โดยจะไปทำให้น้ำเกาะกันเป็นหยดและไหลลงมาไม่ดูดซับเข้าไปในเนื้อผ้า DWR เมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเป็นเหมือนขนที่อยู่ด้านนอกเนื้อผ้าและไปทำให้เกิด “Hydrophobic Effect” คือปรากฎการณ์ที่น้ำไม่เกาะบนผืนผิวซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมี การเคลือบแบบนี้จะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาผ่านการใช้งาน

โดยถ้าเปรียบเทียบกัน DWR ไม่ได้ทำหน้าเป็นสารกันน้ำแบบ PU, Silicone หรือ WP/B Membrane ซึ่งเคลือบอยู่ด้านล่างเนื้อผ้า แต่ DWR จะมีทำการเคลือบที่ด้านหน้าเนื้อผ้าช่วยให้เนื้อผ้าด้านหน้าป้องกันน้ำจากภายนอกนั่นเอง

Polyester vs Nylon ทั้งคู่มีจุดเด่นที่ไม่เหมือนกันคือโดยปกติ Nylon จะแข็งแรงและนุ่มกว่าแต่ Polyester มีสามารถต้านทานแสง UV ได้ดีกว่า Nylon สามารถยืดได้ฉะนั้นเวลาเปียกน้ำจะย้วยลงมาแต่ Polyester จะไม่เป็น Polyester จะย้อมสีได้ง่ายกว่าและให้สีที่สดใสกว่าแต่ยังมีกลิ่นอยู่สามารถเหม็นติดตัวได้ อีกอย่างก็คือเรื่องราคา Nylon ที่รู้กันคือจะใช้ในสินค้าที่ High end กว่า Polyester แต่โดยรวมทั้งคู่ก็ยังเหมาะสำหรับนำมาทำอุปกรณ์เดินทาง

Types of nylon หรือก็คือชนิดของ Nylon ปกติแล้ว Nylon แต่ละชนิดไม่ได้ถูกสร้างออกมาให้เหมือนกัน โดยจะมีการทำออกมาด้วยองค์ประกอบโมเลกุลที่แตกต่างกันทำให้ได้เนื้อผ้าที่มีคุณสมบัติต่างกัน ชนิดที่ใช้กันมากที่สุดคือ Nylon 6 ซึ่งแข็งแรงกว่า Polyester แต่ทนต่อแรงฉีกขาดได้ค่อนข้างต่ำ ส่วน Nylon 6,6 เป็นชนิดที่ดีที่สุดและมีความเหนียวแน่นสูงสุดของ Nylon ที่ใช้กันทั่วไป

Robic คือ Nylon ประเภทหนึ่งเป็นสูตรที่มีการจดสิทธิบัตรซึ่งมีความเหนียวแน่นกว่า Nylon 6 เนื้อผ้า Robic จึงมีคุณสมบัติที่สามารถต้านทานแรงดึงได้สูง ที่สำคัญทนต่อการฉีกขาดได้ดีและเกิดรอยขีดข่วนได้ยากกว่าเนื้อผ้าที่ทำจาก Nylon 6 หรือก็คือคุณภาพสูงกว่าผ้า Nylon ทั่วๆไปนั่นเอง

UHMWPE, Dyneema, DCF, Cuben Fiber คือพลาสติกชนิดใหม่ที่เข้ามาตีตลาดผ้าเมื่อเร็วๆนี้ UHMWPE (Ultra high molecular weight polyethylene) เป็นเส้นใยที่มีอัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนักที่มากกว่าเหล็กหลายเท่า และใช้ในการสร้างเสื้อกันกระสุนสมัยใหม่บางรุ่น โดย Dyneema และ Specta เป็นแบรนด์ที่ผลิต

ส่วน DCF เคยถูกเรียกว่า Cuben Fiber โดยย่อมาจาก Dyneema Composite Fabric หมายถึงกลุ่มผ้าเฉพาะ ซึ่งเส้นใยของ Dyneema ไม่ได้ทอกันเป็นแถวเรียงกันแบบ 90 องศา และส่วนใหญ่มักจะเคลือบฟิล์มพลาสติกน้ำหนักเบาหรือโพลีเอสเตอร์ทอ ในบรรดาเนื้อผ้าที่ทำอุปกรณ์เดินทาง เนื้อผ้า DCF มีอัตราส่วนความต้านทานแรงดึงต่อน้ำหนักที่น่าตกใจและไม่เคยมีมาก่อน หลายองค์กรมีการทอผ้า Nylon โดยที่มีการใช้เส้นใย UHMWPE ด้วย

Spandex, Lycra, Elastane เป็น 3 คำที่ใช้แทนกันได้แล้วแต่หน้าที่ โดยถูกเพิ่มเข้าไปในเส้นใยเพื่อให้เนื้อผ้ามีความยืดหยุ่น Lycra มีอยู่ในทุกอย่างตั้งแต่ชั้นฐานไปจนถึงกระเป๋าขวดน้ำ ในส่วนของเนื้อผ้าที่ทำอุปกรณ์เดินทางปกติ Lycra จะใช้เป็นส่วนประกอบในเนื้อผ้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยที่ยิ่งเปอร์เซ็นต์ของ Lycra ในเนื้อผ้าสูงขึ้นเท่าไรผ้าก็ยิ่งยืดได้มากเท่านั้น

ก็จบลงไปแล้วนะครับสำหรับการอธิบายคำศัพท์ภาษาอังกฤษต่างๆที่เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์เดินทาง หวังว่าจะถูกใจและเป็นประโยชน์กับหลายๆคนเวลาที่ไปซื้อกระเป๋าหรืออุปกรณ์เดินทางที่ไหน แล้วพอเจอคำเหล่านี้สามารถเข้าใจและช่วยให้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้ สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณคุณผู้อ่านทุกท่านรวมถึงเจ้าของบทความด้วยนะครับ สำหรับใครที่สนใจกระเป๋าและอุปกรณ์เดินทางจาก Matador สามารถคลิ๊กกดเข้าไปดูที่ภาพด้านล่างได้เลย ไว้พบกันใหม่โอกาสหน้าสวัสดีครับ

ที่มา : https://matadorup.com/blogs/news/materials-deep-dive

There are no products